วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550



นางสาวสุพรรษา ลัดดา หัวหน้าโครงการตอนปี 2

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติส่วนตัวผู้จัดทำ


ผู้จัดทำ
นางสาวสุพรรษา ลัดดา ชื่อเล่น เกี๊ยวซ่าส์
รหัส 47202490065 A1
โปรแกรม : บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศสาร
กำลังศึกษาอยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ชั้นปีที่ 4


ผ้าบาติก (Batik) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าผ้าปาเต๊ะเป็นภาษาที่ชาวอินโดนีเซียหรือชวาใช้เรียกชื่อผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่เกิดจากการใช้ฝีมือเขียนให้เกิดลวดลายและการย้อมสีบนผืนผ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าการผลิตผ้าชนิดนี้มีมากว่า 2000 ปีล่วงมาแล้ว ถิ่นกำเนิดเริ่มมาจากประเทศอินโดนีเซียและแผ่ขยายไปยังประเทศอินเดีย มาเลเซีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น อังกฤษ และอเมริกา สำหรับประเทศไทยตามหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าคงรับเอาอิทธิพลและวัฒนธรรมมาจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เห็นได้จากทางจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการทำผ้าบาติกกันอย่างมากมายเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว สร้างรายได้ที่ดีให้กับชาวบ้าน และยังเป็นสินค้าพื้นเมืองประจำท้องถิ่นที่ส่งออกไปขายตามแหล่งต่าง ๆ มากมายทั้งภายในและต่างประเทศ




ขั้นตอนการทำผ้าบาติกเพ้นท์สี การทำผ้าบาติกโดยวิธี ขั้นตอนดังนี้
1.การออกแบบลวดลายก่อนปฎิบัติงานทุกครั้งควรมีการออกแบบลวดลายและกำหนดกลุ่มสีที่จะใช้ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน แล้วใช้ดินสอเขียนผ้าร่างลวดลายลงบนผ้าเตรียมไว้
2.การเขียนลวดลายเป็นขั้นตอนสำคัญของการทำผ้าบาติก การเขียนเทียนที่ดีส่งผลให้ขั้นตองการลงสีสมบูรณ์ขึ้น เทียนที่เขียนผ้าต้องซึมทะลุผ้าด้านหน้าและด้านหลังจึงจะสามารถกันสีย้อมได้ เรานำผ้าที่ร่างลวดลายไว้แล้วนั้นมาขึงบนกรอบไม้แล้วใช้เครื่องมือเขียนเทียนตักน้ำเทียนเขียนลงบนผ้าตามลวดลายนั้นจนเสร็จ (สำหรับผู้ที่มีความชำนาญก็ไม่จำเป็นต้องร่างลวดลายไว้ก่อน สามารถเขียนเทียนลงบนผ้าได้เลย)
3.การระบายสีลงบนผ้า ผสมสีย้อมเตรียมไว้แล้วใช้ภู่กันจุ่มสีระบายลงบนผ้าอย่างระมัดระวัง อย่าให้สีซึมเลอะไปในบริเวนที่ไม่ต้องการจะทำให้เกิดข้อบกพร่องในงานได้เมื่อสีที่ระบายแห้งสนิทดีแล้วจึงทาด้วยโซเดียมซิลิเกรตให้ทั่วผ้าทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
4.การต้มละลายเทียน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำผ้าบาติก โดยนำผ้าที่ทาเคลือบด้วยโซเดียมซิลิเกรตไปล้างน้ำขณะล้างน้ำจะมีสีส่วนเกินจำนวนหนึ่งละลายออกมากับน้ำจึงต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ ขยี้ผ้าเบาๆ จนน้ำที่ซักผ้าใสไม่นำอ่างใส่น้ำพอประมาณตั้งไฟให้น้ำเดือดเติมผงซักฟอกและโซดาแอสเล็กน้อยแล้วนำผ้าที่ล้างโซเดียมซิลิเกรตแล้วนั้นลงต้มเพื่อละลายเทียน จนเทียนละลายออกหมด จึงนำมาซักน้ำจนผ้าสะอาดก็จะได้ผลงานผ้าบาติกเพ้นท์สีที่สวยงาม

ผ้าบาติก


ลักษณะเด่นของผ้าบาติก สีและลวดลายอันคมชัดของภาพที่ปรากฏให้เห็นบนผืนผ้าเช็ดหน้า เกิดขึ้นจากการเขียนลวดลายตามที่ผู้ผลิตต้องการลงบนผืนผ้าด้วยดินสอแล้วใช้ปากกาเขียนเทียนช้านติ้ง (Tjanting) จุ่มน้ำเทียนเขียนไปตามลวดลายเพื่อให้น้ำเทียนนี้เป็นแนวป้องกันน้ำสีไม่ให้ซึมผ่านถึงกัน น้ำเทียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องซึมผ่านทะลุทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผืนผ้าบาติกโดยไม่ให้เกิดช่องว่างขึ้นจากนั้นจึงทำให้เกิดลวดลาย โดยวิธีการเพ้นท์สีหรือย้อมสีตามแต่กรณีสีบนผืนผ้าจะต้องซึมผ่านทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของผ้าบาติก